วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

นวัตกรรมการศึกษา




  • ความหมายของนวัตกรรม
  • ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้นๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริงซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา
  • มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรตลอดจนหน่วยงานหรือองค์การนั้นๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา
  • ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
  • จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37) ได้กล่าวถึงความหมายของ “นวัตกรรม” ไว้ว่า “แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใดๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้วกับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า “นวัตกรรม” มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ
  • สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (2549) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมไว้ว่า นวัตกรรม คือ “สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม”
  •   สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์และคณะ (2553)  ได้ให้ความหมายของ นวัตกรรม หมายถึง “สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นจากการใช้ความรู้ ทักษะประสบการณ์ และความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาขึ้น ซึ่งอาจจะมีลักกษณะเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ บริการใหม่ หรือกระบวนการใหม่ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและสังคม”
  • สรุป “นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
  • ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
  • สมบูรณ์ สงวนญาติ (2534) ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ในทางการศึกษา ซึ่งแปลกไปจากเดิมอาจได้มาจากการค้นพบวิธีใหม่ๆ หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม โดยได้มีการทดลอง พัฒนา จนเป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่า มีผลดีในทางปฏิบัติ และสามารถทำให้ระบบการศึกษาดำเนินไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • กิดานันท์ มลิทอง (2540) ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง นวัตกรรมที่ช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมเหล่านั้น และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่างซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันแพร่หลายแล้วและประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย การใช้แผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ สื่อหลายมิติ และอินเทอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
  • วรวิทย์ นิเทศศิลป์ (2551) ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง การนำเอาความคิดหรือวิธีปฏิบัติทางการศึกษาใหม่ๆมาใช้กับการศึกษา
  • คณาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา (2539) ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง แนวความคิดหรือวิธีการหรือเครื่องมือ ซึ่งเป็นสิ่งแปลกใหม่ยังไม่เคยนำมาใช้ในวงการการศึกษามาก่อน แต่ได้ถูกนำมาทดลองใช้เพื่อดูผลว่าได้ผลดีเพียงใด ถ้าได้ผลดีก็จะได้รับการยอมรับและเผยแพร่ให้รู้จักและนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางต่อไป
  • สุคนธ์ สินธพานนท์ (2553) ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง สิ่งใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนหรือพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่แนวคิด รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ สื่อต่างๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษา
  • ทัศนา แขมมณี (2526 : 12) ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง กระบวนการ แนวคิด หรือวิธีการใหม่ๆ ทางการศึกษาซึ่งอยู่ในระหว่างการ ทดลองที่จะจัดขึ้นมาอย่างมีระบบและกว้างขวางพอสมควร เพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่การยอมรับนำไปใช้ในระบบการศึกษาอย่างกว้างขวางต่อไป
  • ธำรงค์ บัวศรี (2527 : 44) ได้กล่าวว่า นวัตกรรมการศึกษาถูกสร้างขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาทางการศึกษา
  • ลัดดา ศุขปรีดี (2523 : 19) ได้ให้ความหมายไว้ว่าหมายถึง ความคิด วิธีการใหม่ๆ ทางการเรียนการสอนซึ่งรวมไปถึงแนวคิดวิธีปฏิบัติที่เก่ามาจากที่อื่นและมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการเรียนการสอนในปัจจุบัน
  • สำลี ทองธิว (2526 : 3) ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมการศึกษาเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาทางการศึกษา หรือเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลง สิ่งที่มีอยู่เดิมให้ได้ มาตรฐานคุณภาพเพิ่มขึ้น ผู้สร้างนวัตกรรมจะคำนึงถึงว่า นวัตกรรมที่สร้างขึ้นมาจะต้องดีกว่าของเดิมคือ จะต้องได้รับประโยชน์มากกว่าเดิม หรือมีความสะดวกมากขึ้น ไม่ยากต่อการใช้ ตรงกับความต้องการของผู้ใช้
  • บุญเกื้อ ควรหาเวช (2521 : 1) ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมทางการ ศึกษาคือความคิดและการระทำใหม่ ๆ ในระบบการศึกษาที่ได้รับการพิสูจน์ว่าดีที่สุดใน สภาพปัจจุบันเพื่อส่งเสริมให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคเหนือ  กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่ส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพ
  • ฐานความรู้ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา (http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138)  กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น
  • สมจิตร ยิ้มสุด กล่าวไว้ว่า “นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
  • ครูบ้านนอก Blog (http://www.kroobannok.com/blog/33349)  กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา คือ  การปรับประยุกต์ ความคิดใหม่ วิธีการใหม่ รูปแบบใหม่ เทคนิคใหม่ แนวทางใหม่ ที่สร้างสรรค์และพัฒนาทั้งจากการต่อยอดภูมิปัญญาเดิม หรือจากการคิดค้นขึ้นมาใหม่ให้เกิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในระบบการศึกษา  นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
  • สรุป “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) คือ การนำสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการ หรือการกระทำ หรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้น ทั้งในส่วนที่ไม่เคยมีมาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากสิ่งที่มีอยู่แต่เดิม ให้ดีขึ้น โดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี ที่ได้ผ่านการทดลองวิจัยจนเชื่อถือได้นำมาใช้บังเกิดผลเพิ่มพูนประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้
  • ความสำคัญของนวัตกรรมการศึกษา
  • นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ  ทั้งนี้เนื่องจากในโลกยุคโลกาภิวัฒน์โลกมีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความก้าวหน้าทั้งด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ  การศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิม  เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน  การเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษาที่จะนำมาใช้เพ่อแก้ไขปัญหาทางการศึกษาในบางเรื่อง  เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกัน  จำนวนผู้เรียนที่มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย  การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง  การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
  • กล่าวโดยสรุป  นวัตกรรมการศึกษาเกิดขึ้นตามสาเหตุใหม่ ๆ ดังต่อไปนี้
  • 1)  การเพิ่มปริมาณของผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเป็นไปอย่างรวดเร็ว  ทำให้นักเทคโนโลยีการศึกษาต้องหานวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ เพื่อให้สามารถสอนนักเรียนได้มากขึ้น
  • 2)  การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว  การเรียนการสอนจึงต้องตอบสนองการเรียนการสอนแบบใหม่ ๆ ที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วและเรียนรู้ได้มากในเวลาจำกัดนักเทคโนโลยีการศึกษาจ่งต้องค้นหานวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้
  • 3)  การเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้มในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น ตามแนวปรัชญาสมัยใหม่ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  นวัตกรรมการศึกษาสามารถช่วยตอบสนองการเรียนรู้ตามอัตภาพ ตามความสามารถของแต่ละคน เช่นการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI (Computer Assisted instruction)  การเรียนแบบศูนย์การเรียน
  • 4)  ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีโทรคมนาคม ที่ส่วนผลักดันให้มีการใช้นวัตกรรมการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้คอมพิวเตอร์ มีขนาดเล็กลง  แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดน  นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงคิดค้นหาวิธีการใหม่ ๆ ในการประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเรียนรู้ ที่เรียกว่า “Web-based Learning”   ทำให้สามารถเรียนรู้ในทุกพี่ทุกเวลาสำหรับทุกคน (Sny where, Any time for  Everyone )  ถ้าหากผู้เรียนสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้
  • การใช้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันเป็นไปอย่างกว้างขวาง  ในวงการศึกษาคอมพิวเตอร์มิใช่เพียงแต่สิ่งอำนวยความสะดวกในสำนักงานเท่านั้น  แต่ยังใช้เป็นสื่อหรือเป็นเครื่องมือสร้างสื่อได้อย่างสวยงามเหมือนจริง และรวดเร็วมากกว่าก่อน  นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงศึกษาวิจัยบทนวัตกรรมทางด้านการผลิตและการใช้สื่อใหม่ ๆ ตามศักยภาพของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เช่น คอมพิวเตอร์กราฟิก ระบบมัลติมีเดีย วิดีโอออนดีมานด์  การประชุมทางไกล อี-เส้นนิ่ง อี-เอ็ดดูเคชั่น เป็นต้น
  • นวัตกรรมการศึกษา 7 ประเภท
  • 1.1. นวัตกรรมการศึกษา 7 ประเภท
  • 2.2. หัวข้อที่ 4 สื่อการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้(ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรมวิชาการ 2544 หน้า 178) หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวผู้เรียนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เน้นสื่อที่ใช้ สา หรับการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองทั้งผู้เรียนและผู้สอน ผู้เรียนและผู้สอนสามารถ จัดทา พัฒนาสื่อการเรียนรู้ขึ้นเอง หรือนา สื่อต่าง ๆ ที่มีอยู่รอบตัวมาใช้ในการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจกล่าวได้ว่า สื่อการเรียนรู้ ( Educational Material ) เทคโนโลยีการสอน ( Instructional Technology ) และ เทคโนโลยีการเรียนรู้ ( Learning Technology ) มี ความหมายใกล้เคียงกัน
  • 3.3. สื่อการเรียนรู้สามารถจา แนกออกตามลักษณะได้เป็น 3 ประเภท คือ 1. สื่อสิ่งพิมพ์หมายถึง หนังสือและเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่แสดงหรือเรียบเรียงสาระ ความรู้ต่าง ๆ โดยใช้ตัวหนังสือ มีหลายชนิด ได้แก่ เอกสาร หนังสือเรียน หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร บันทึก รายงาน ฯลฯ
  • 4.4. 2. สื่อเทคโนโลยีหมายถึง สื่อการเรียนรู้ที่ผลิตขึ้นใช้ควบคู่กับเครื่องมือโสตทัศนวัสดุ หรือ เป็นเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น แถบบันทึกภาพพร้อมเสียง (วิดีทัศน์) แถบบันทึกเสียง ภาพนิ่ง สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นอกจากนี้ยังหมายรวมถึงกระบวนการต่างๆ ที่นา เทคโนโลยีมา ประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ เช่น การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ การศึกษาทางไกลผ่าน ดาวเทียม เป็นต้น
  • 5.5. 3. สื่ออื่น ๆ นอกเหนือจากสื่อ 2 ประเภทที่กล่าวไปแล้ว ยังมีสื่ออื่นๆ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ของผู้เรียน ซึ่งมี ความสา คัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อเทคโนโลยี
  • 6.6. สื่อที่กล่าวนี้ ได้แก่ 3.1 บุคคล หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ซึ่งสามารถถ่ายทอด สาระความรู้ แนวคิดและประสบการณ์ไปสู่บุคคลอื่น เช่น บุคลากรในท้องถิ่น แพทย์ ตา รวจ นักธุรกิจ เป็นต้น 3.2 ธรรมชาตแิละสิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งมีอยู่ตามธรรมชาติและสภาพแวดล้อมตัว ผู้เรียน เช่น พืชผักผลไม้ ปรากฏการณ์ ห้องปฏิบัติการ เป็นต้น
  • 7.7. 3.3 กิจกรรม / กระบวนการ หมายถึง กิจกรรมหรือกระบวนการที่ผู้สอนและผู้เรียน กา หนดขึ้นเพื่อสร้างเสริม ประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น บทบาทสมมติ การสาธิต การจัดนิทรรศการ การทา โครงงาน เกม เพลง เป็นต้น 3.4 วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์หมายถึง วัสดุที่ประดิษฐ์ขึ้นใช้เพื่อประกอบการ เรียนรู้ เช่น หุ่นจา ลอง แผนภูมิ แผนที่ ตาราง สถิติ รวมถึงสื่อประเภทเครื่องมือและ อุปกรณ์ที่จา เป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานต่างๆ เช่น อุปกรณ์ทดลองวทิยาศาสตร์ เครื่องมือช่าง เป็นต้น
  • 8.8. เปรียบเทียบข้อดี(จุดเด่น)และข้อจากัด(ข้อเสีย)ของสื่อเพื่อการเรียนรู้แต่ละประเภท 1. สิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น หนังสือ ตา รา-เรียน คู่มือ ฯลฯ ข้อดี- เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง - สามารถอ่านได้ตามอัตราความสามารถของแต่ละบุคคล - เหมาะสาหรับการอ้างอิงหรือทบทวน - เหมาะสา หรับการผลิตเป็นจา นวนมาก สะดวกในการแก้ไขปรับปรุงเนื้อหาใหม่ ข้อจากัด - ถ้าจะให้ได้สิ่งพิมพ์คุณภาพดี จา เป็นต้องใช้ต้นทุนในการผลิตสูง - บางครั้งต้องพิมพ์ใหม่เพื่อปรับปรุงข้อมูลที่ล้าสมัย - ผู้ที่ไม่รู้หนังสือไม่สามารถอ่านเข้าใจได้
  • 9.9. 2. สื่อเทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ ข้อดี - ใช้งานได้หลายประเภท เช่น การคา นวณ จัดเก็บฐานข้อมูล การจัดหน้าสิ่งพิมพ์ ฯลฯ - ใช้แก้ปัญหาต่างๆ ที่ซับซ้อนได้ - เสนอข้อมูลได้หลายประเภททั้ง ตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง - มีการโต้ตอบกับผู้เรียนเพื่อให้ผลป้อนกลับด้วยความรวดเร็ว - สามารถบันทึกข้อมูลเก็บไว้ในหน่วยความจา ของเครื่องหรือในวัสดุบันทึกอื่น เช่น จาน บันทึกและเทปแม่เหล็กได้ ข้อจากัด มีราคาสูงพอสมควร - ต้องมีการบา รุงรักษาตามระยะเวลา - ต้องใช้กับโปรแกรมซอฟต์แวร์ประเภทต่างๆ จึงจะใช้งานได้ - มีการเปลี่ยนแปลงด้านอุปกรณ์ เช่น ความเร็วในการทา งานการ์ดประเภทต่าง ๆ จนทา ให้ เครื่องที่มี อยู่ล้าสมัยได้เร็ว
  • 10.10. 3. สื่ออื่นๆ 3.1 บุคคล ข้อดี - เป็นสื่อที่ทุกคนมีอยู่แล้ว ไม่ต้องสิ้นเปลืองในการซื้อสื่อแบบสื่ออื่น ๆ - ทา ให้ผู้พูดและฟังเห็นหน้าตา บุคลิก ลีลา ท่าทาง น้า เสียงประกอบการพูดซึ่งมีอิทธิพลในการชักจูง และเร้า

วรรณดี เรื่อง มัทนะพาธา





วรรณคดี เรื่องนี้มีคุณค่าทางวรรณคดีสูงล้ำยิ่งนักด้วยเปี่ยมไปด้วยถ้อยคำไพเราะงดงาม การดำเนินเรื่องที่ครบถ้วนทั้งรสแห่งความรัก 
รสแห่งความแค้น รสแห่งความเกลียด รสแห่งความทุกข์ระทม
ดังจะกล่าวบทไปดังนี้....
            จอมเทพสุเทษณ์เป็นทุกข์อยู่ด้วยความลุ่มหลงเทพธิดามัทนาแม้จิตระรถผู้สารถีคู่บารมีจะนำรูปของเทพเทวีผู้เลอโฉมหลายต่อหลายองค์
มาถวายให้เลือกชมสุเทษณ์ก็มิสนใจไยดี จิตระรถจึงนำมายาวินวิทยาธรมาเฝ้าสุเทษณ์ให้มายาวินใช้เวทมนตร์เรียกนางมัทนามาหาเมื่อมาแล้วนางมัทนาก็เหม่อลอยมิมีสติสมบูรณ์เพราะตกอยู่ในฤทธิ์มนตรา สุเทษณ์มิต้องการได้นางด้วยวิธีเยี่ยงนั้น จึงให้มายาวินคลายมนตร์แต่ครั้นได้สติแล้วนางมัทนาก็ปฏิเสธว่ามิมีจิตเสน่หาตอบด้วยมิว่าสุเทษณ์จะเกี้ยวพาและรำพันรักอย่างไรสุเทษณ์โกรธนักจึงจะสาปมัทนาให้ไปเกิดในโลกมนุษย์

             มัทนาขอให้นางได้ไปเกิดเป็นดอกไม้มีกลิ่นกลิ่นหอมเพื่อให้มีประโยชน์บ้างสุเทษณ์จึงสาปมัทนาให้ไปเกิดเป็นดอกกุหลายที่งามทั้งกลิ่นทั้งรูป และมีแต่เฉพาะบนสวรรค์ยังไม่เคยมีบนโลกมนุษย์ โดยที่ในทุกๆ 1 เดือน นางมัทนาจะหลายร่างเป็นคนได้ชั่ว 1 วัน 1 คืนในเฉพาะวันเพ็ญของแต่ละเดือนเท่านั้นและถ้านางมีความรักเมื่อใดนางก็จะมิต้องคืนรูปเป็นกุหลาบอีก แต่นางจะได้รับความทุกข์ทรมานเพราะความรักจนมิอาจทนอยู่ได้และเมือนั้นถ้านางอ้อนวอนขอความช่วยเหลือ ตนจึงจะงดโทษทัณฑ์นี้ให้แก่นาง

             นางมัทนาไปจุติเป็นกุหลาบงามอยู่ในป่าหิมะวันบรรดาศิษย์ของฤษีนามกาละทรรศินมาพบเข้าจึงนำความไปบอกพระอาจารย์ กาละทรรศินจึงให้ขุดไปปลูกในบริเวณอาศรมของตนในขณะที่จะทำการขุดก็มีเสียงผู้หญิงร้องกาละทรรศินเล็งญาณดูก็รู้ว่าเป็นเทพธิดามาจุติ จึงได้เอ่ยเชิญและสัญญาว่าจะคอยดูแลปกป้องสืบไป เมื่อนั้นการจึงสำเร็จด้วยดี วันเพ็ญในเดือนหนึ่งท้าวชัยเสนกษัตริย์แห่งหัสตินาปุระได้เสด็จออกล่าสัตว์ในป่าหิมะวันและได้แวะมาพักที่อาศรมพระฤษี ครั้นได้เห็นนางมัทนาในโฉมของนารีผู้งดงามก็ถึงกับตะลึงและตกหลุมรักจนถึงกับรับสั่งให้มหาดเล็กปลูกพลับพลา
พักแรมไว้ใกล้อาศรมนั้นทันที

             ท้าวชัยเสนรำพันถึงความรักลึกซึ้งที่มีต่อนางมัทนาครั้นเมื่อนางมัทนาออกมาที่ลานหน้าอาศรมก็มิเห็นผู้ใด ด้วยเพราะท้าวชัยเสนหลบไปแฝงอยู่หลังกอไม้นางมัทนาได้พรรณาถึงความรักที่เกิดขึ้นในใจอย่างท่วมท้น ท้าวชัยเสนได้สดับฟังทุกถ้อยความจึงเผยตัวออกมาทั้งสองจึงกล่าวถึงความรู้สึกอันล้ำลึกในใจที่ตรงกันจนเข้าใจในรักที่มีต่อกันจากค่ำคืนถึงยามรุ่งอรุณ ท้าวชัยเสนจึงทรงประกาศหมั้นและคำสัญญารัก ณ ริมฝั่งลำธารใกล้อาศรมนั้นเมื่อมีความรักแล้วนางมัทนาก็ยังคงรูปเป็นนารีผู้งดงามมิต้องกลายรูปเป็นกุหลาบอีก
             ท้าวชัยเสนได้ทูลขอนางมัทนา พระฤษีก็ยกให้โดยให้จัดพิธีบูชาทวยเทพและพิธีวิวาหมงคลในป่านั้นเสียก่อน ท้าวชัยเสนเสด็จกลับวังหลายเพลาแล้วแต่ก็มิได้เสด็จไปยังพระตำหนักข้างในด้วยว่ายังทรงประทับอยู่แต่ในอุทยาน พระนางจัณฑีมเหสีให้นางกำนัลมาสืบดูจนรู้ว่าพระสวามีนำสาวชาวป่ามาด้วยจึงตามมาพบท้าวชัยเสนกำลังอยู่กับนางมัทนาพอดี เมื่อพระนางจัณฑีเจรจาค่อนขอดดูหมิ่นนางมัทนา ท้าวชัยเสนก็กริ้วและทรงดุด่าว่าเป็นมเหสีผู้ริษยา พระนางจัณฑีแค้นใจนักให้คนไปทูลฟ้องพระบิดาผู้เป็นเจ้าแห่งมคธนครให้ยกทัพมาทำศึกกับท้าวชัยเสน

นิราศนรินทร์

ราศนรินทร์คำโคลง
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔
ความเป็นมา
      นิราศ เป็นงานประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เท่าที่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบัน นิราศเรื่องแรกของไทยนั้นคือ โคลงนิราศหริภุญชัย ซึ่งแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา
๑.๑ ลักษณะของนิราศ
      พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๔๒ อธิบายว่า นิราศหมายถึง .เรื่องราวที่พรรณนาถึงการจากกันหรือจากที่อยู่ไปในที่ต่างๆ
 ๑.๒ เนื้อหาของนิราศ
      เนื้อหานิราศส่วนใหญ่มักเป็นการคร่ำครวญของกวี (ชาย) ต่อสตรีอันเป็นที่รักเนื่องจากต้องพลัดพรากจากนางมาไกลไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุใดก็ตาม
      อย่างไรก็ตาม อาจกล่าวได้ว่าวรรคดีนิราศมักมีความเศร้าเพราะร้างรักเป็นแก่นเรื่องของรายละเอียดอื่นๆ ที่ปรากฏในเนื้อเรื่องเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น
 ๑.๓ นางในนิราศ
      สำหรับนางในนิราศที่กวีพรรณนานั้น อาจมีตัวตนจริงหรือไม่ก็ได้แต่กวีถือว่า นางอันเป็นที่รักเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่จะเอื้อให้กวีแต่งนิราศได้ไพเราะในบางกรณกวีเมื่อเดินทางไกลและแม้ว่าจะไม่ได้จากนางอันเป็นที่รักจริง เพราะมีนางนั้นติดตามาด้วย แต่กวีก็ยังต้องครวญถึงนางตามแบบแผนของนิราศ
 ๑.๔ คำประพันธ์ในนิราศ
         วรรณคดีประเภทนิราศอาจแต่งด้วยคำประพันธ์หลายๆประเภท เช่น โคลง กาพย์ กลอน กาพย์ห่อโคลง แต่ที่นิยมมากสุดในสมัยโบราณได้แก่ โคลง ส่วนมากมักขึ้นต้นด้วยร่ายหนึ่งบทและร่ายหนึ่งบทนี้จะมีใจความสดุดีบ้านเมืองและยอพระเกียรติพระมาหากษัตริย์

นิราศนรินทน์คำโคลง
     นิราศนรินทน์คำโคลงมีลักษณะเป็นนิราศแท้ คือมีเนื้อหาสำคัญอยู่ที่การคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รักที่กวีจากมา ส่วนรายละเอียดอื่นๆ เป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้นเป็นที่ยอมรับทั่วไปว่านิราศนรินทน์คำโคลงเป็นนิราศที่มีความไพเราะที่สุดเรื่องหนึ่งของไทย
                                                                         อยุธยายศล่มแล้ว               ลอยสวรรค์ ลงฤา
                                                         สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร-         เจิดหล้า
                                                         บุญเพรงพระหากสรรค์             ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
                                                         บุญเพรงพระหากสรรค์             ฝึกฟื้นใจเมือง
                                                         เรืองเรืองไตรรัตน์พ้น               พันแสง
                                                         รินรสพระธรรมแสดง                ค่ำเช้า
                                                         เจดีย์ระดะแซง                       เสียดยอด
                                                         ยลยิ่งแสงแก้วเก้า                  แก่นหล้าหลากสวรรค์
                                                         เอียงอกเทออกอ้าง                อวดองค์ อรเอย
                                                         เมรุชุบสมุทรดินลง                 เลยแต้ม
                                                         อากาศจักจารผจง                  จารึก พอฤา
                                                         โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม              อยู่ร้อนฤาเห็น
๒.ประวัติผู้แต่ง
             นิราศนรินทน์คำโคลง เป็นนิราศที่มีชื่อเสียงที่สุดในกรุงรัตนโกสินทร์ ด้ยมีความไพเราะเป็นเยี่ยม แต่เป็นที่หน้าเสียดายว่าความรู้เกี่ยวกับประวัติผู้แต่งนั้นไม่สู้ชัดเจนนักนอกจากปรากฏอยู่ในโคลงท้ายเรื่องว่า
โคลงนิราศเรื่องนี้                  นรินทร์อิน
รองบาทบวรวังถวิน                     ว่าไว้
    ๓.ลักษณะคำประพันธ์
            นิราศนรินทน์คำโคลง แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทร่ายสุภาพ จำนวน ๑ บท และโคลงสี่สุภาพจำนวน ๑๔๓ บท
           ๓.๑ ร่ายสุภาพ
                   ร่ายสุภาพแต่งเป็นวรรค วรรคละประมาณ ๕ คำ หรือมากกว่านั้น และจะแต่งให้ยาวกี่วรรคก็ได้ แต่สามวรรคสุดท้ายก่อนที่จะจบบทจะต้องมีฉันทลักษณ์เป็นโคลงสองสุภาพเสมอ
                   ส่วนการสัมผัสนั้นคำสุดท้ายของวรรคหน้าจะสัมผัสกับคำที่ ๑,๒ หรือ ๓ ของวรรคต่อไปแต่ถ้าคำสุดท้ายของวรรคหน้าส่งสัมผัสเป็นคำเอกหรือคำโท คำที่รับสัมผัสในวรรคต่อไปจะต้องเป็นคำเอกหรือคำโทเช่นเดียวกัน ดังแผนภาพต่อไปนี้
๔.เรื่องย่อ
    นิราศนรินทร์คำโคลงเริ่มเรื่องด้วยร่ายสุภาพยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์ แล้วกล่าวถึงความเจริญของบ้านเมือง จากนั้นจึงรำพันถึงการจากนางอันเป็นที่รักและพรรณนาสถานที่ที่ผ่านไป โดยนายนรินทรธิเบศร์ (อิน)  ได้ออกเดินทางเริ่มต้นจากคลองขุดผ่านวัดแจ้ง  คลองบางกอก (ใหญ่)  วัดหงส์  วัดสังข์กระจาย  บางยี่เรือ (คลอง) ด่านนางนอง บางขุนเทียน บางบอน บางหัวกระบือ โคกขาม คลองโคกเต่า มหาชัย ท่าจีน บ้านบ่อ นาขวาง คลองสามสิบสองคด คลองย่านซื่อ แม่กลองปากน้ำ (ออกทะเล) บ้านแหลม คุ้งคดอ้อย เพชรบุรี ชะอำ ห้วยขมิ้น ท่าข้าม เมืองปราณ (บุรี) สามร้อยยอด ทุ่งโคแดง (ทุ่งวัดแดง) อ่าวนางรม (อ่าวประจวบ) บางสะพาน ขามสาวบ่าว อู่แห้ง เขาหมอนเจ้า โพสลับ ลับยักษ์ เมืองแม่น้ำ อู่สะเภา หนองบัว แก่งตุ่ม แก่งคุลาตีอก แก่งแก้ว (แก่งแก้วสงสาร) แก่งนางครวญ ปากน้ำ (ร่วม) เขาเพชร จนถึงตระนาว (ตะนาวศรี) เป็นที่หมายปลายทาง


๕.เนื้อเรื่อง
นิราศนรินทน์
                       ศรีสิทธิ์พิศาลภพ เลอหล้าลบล่มสวรรค์  จรรโลงโลกกว่ากว้าง  แผนแผ่นผ้างเมืองเมรุ  ศรีอยุธเยนทร์แย้มฟ้า  แจกแสงจ้าเจิดจันทร์  เพียงรพิพรรณผ่องด้าว  ขุนหาญท้าวแหนบาท  สระทุกข์ราษฎร์รอนเสี้ยน  ส่วนเศิกเหลี้ยนล่งหล้า  ราญราบหน้าเกริน  เข็ญข่าวยินยอบตัว  ควบค้อมหัวไหว้ละล้าว  ทุกไทน้าวมาลย์น้อม  ขอออกอ้อมมาอ่อน  ผ่อนแผ่นดินให้ผาย  ขยายแผ่นฟ้าให้แผ้ว  เลี้ยงทแกล้วให้กล้า  พระยศไท้เทิดฟ้า  เฟื่องฟุ้งทศธรรม  ท่านแฮ
                              อยุธยายศล่มแล้ว                          ลอยสวรรค์ ลงฤา
                    
สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร-                      เจิดหล้า
                    
บุญเพรงพระหากสรรค์                          ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
                    
บุญเพรงพระหากสรรค์                          ฝึกฟื้นใจเมือง
                                                              ฯลฯ

                                เอียงอกเทออกอ้าง                      อวดองค์ อรเอย
                    
เมรุชุบสมุทรดินลง                                 เลขแต้ม
                    
อากาศจักจารผจง                                    จารึก พอฤา
                    
โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม                               อยู่ร้อนฤาเห็น
                                                                 ฯลฯ
                                 ร่ำรักร่ำเรื่องร้าง                         แรมนวล  นาฏฤา
                    
เสนาะสนั่นดินครวญ                             ครุ่นฟ้า
                    
สารสั่งพี่กำสรวล                                   แสนเสน่ห์  นุชเอย
                    
ควรแม่ไว้ต่างหน้า                                  พี่พู้นภายหลัง
                                                                  ฯลฯ
๑.      คำศัพท์และคำอธิบาย


พิศาลภพ

โลกอันกว้างขวาง

เลอหล้า

เหนือโลก บนโลก สูงเด่นในโลก

แผ่นผ้าง

แผ่นพื้น

รพิพรรณ

แสงอาทิตย์

ขุญหาญ

ขุนพล แม่ทัพ

ห้าว

กล้า

ไตรรัตน์

แก้วสามดวง

แก่นหล้า

เป็นแก่นโลก หลักโลก

เยียวว่า

ถ้าว่า แม้ว่า

เลื่อน

พาไป

ชาย

พัด

จักรี

ผู้มีจักร

เกลือก

หาก บางที

คล้อง

รับ

โท

สอง

ขำ

งาม

ท่ง

ทุ่ง

หิวมเวศ

หิมพานต์

รุม

ร้อน

เลข

เขียนหนังสือ

กำสรวล

โศกเศร้า

บทวิเคราะห์
๗.๑ ด้านกลวิธี การแต่ง
 ๑) การใช้คำ กวีใช้คพที่งดงามทั้งรูป ความหมายและเสียงที่ไพเราะ โดยเฉพาะร่ายสดุดีที่มีลักษณะเด่นสะดุดความสนใจ
๑.๑) เลือกสรรคำที่เหมาะกับเนื้อเรื่อง
๑.๒) การเลือกสรรคำที่มีเสียงเสนาะ
- สัมผัส
- การเล่มคำ
๒) ภาพพจน์
   ๒.๑) การเปรียบเทียบเกินจริง คือการกล่าวเกินจริง เพื่อให้ได้คุณค่าทางด้านอารมณ์เป็นสำคัญ
  ๒.๒) การใช้บุคคลวัต กวีใช้คำสมมุติต่างๆ ที่ไม่ใช่มนุษย์ให้มีกิริยาอาการความรู้สึกเหมือนมนุษย์




๗.๒ ด้านสังคม
๑.     นิราศนรินทร์คำโคลงมีเนื้อหาสาระที่จรรโลงวัฒนธรรม
๒.   นิราศนรินทร์คำโคลงมีคุณค่าที่สะท้อนให้เห็นสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยรัชการที่ ๒

        นิราศนรินทร์คำโคลง เป็นตัวอย่างของโคลงนิราศชั้นเยี่ยมที่เปี่ยมด้วยความไพเราะและมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ เหมาะสำหรับเยาวชนจะนำไปเป็นแบบอย่างในการประพันธุ์โคลงที่มีเนื้อหาพรรณอารมณ์ ความรัก และธรรมชาติ รวมทั้งรูปแบบทางฉันทลักษณ์ของร้อยกรองไทยได้เป็นอย่างดี



https://sites.google.com/site/phasathiym4/raywicha-phasa-thiy-chan-mathymsuksa-pi-thi4/bth-thi4-reuxng-ni-ras-nri-thr-kha-kholng